Latest Article :
Home » , , » ระบบต่างๆในร่างกายมีอะไรบ้าง

ระบบต่างๆในร่างกายมีอะไรบ้าง

{[['']]}


      ร่างกายมนุษย์นับว่ามีความมหัศจรรย์เนื่องจากมีโครงสร้างที่ซับซ้อน เริ่มตั้งแต่ระดับอะตอมยึดกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลจัดเรียงตัวเป็นเซลล์ รูปร่างของเซลล์แตกต่างกันตามลักษณะหน้าที่ในการทำงาน เมื่อเซลล์ชนิดเดียวกันรวมกลุ่มกันและทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งกลายเป็นเนื้อเยื่อ จากนั้นเนื้อเยื่อก็จะประกอบเข้าเป็นอวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามการที่ร่างกายมนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยพลังงานเพื่อให้เซลล์ต่างๆ ทำงานได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย การหายใจ การย่อยอาหาร หรือการเต้นของหัวใจ
เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปแล้วร่างกายจะมีกระบวนการดูดซึมอาหารเข้าเซลล์เพื่อนำไปเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ เปรียบเสมือนการทำงานของรถยนต์หรือเครื่องจักร ที่ต้องใช้น้ำมันเพื่อไปเผาผลาญให้เกิดพลังงานในการขับเคลื่อนเพื่อให้เครื่องจักรทำงาน
ต่างกันตรงที่เครื่องจักรยังสามารถหยุดทำงานได้ แต่ร่างกายมนุษย์นั้นทำงานตลอดเวลาเซลล์ทุกเซลล์มีการเคลื่อนไหว หากส่วนใดผิดปกติย่อมทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมา เช่น การหายใจ หากหลอดลมมีการอักเสบ หดเกร็งตัว ย่อมทำให้เราหายใจลำบากรับออกซิเจนเข้าปอดไม่เพียงพอจนเป็นสาเหตุให้ขาดอากาศในการหายใจได้

อวัยวะทุกส่วนของร่างกายมนุษย์จึงมีความสำคัญ หากจะแบ่งระบบต่างๆในร่างกาย

ตามโครงสร้างและหน้าที่ สามารถจำแนกออกเป็น 10 ระบบ ดังนี้
1.ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย(Integumentary system)
เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด แบ่งออกเป็นชั้นหนักกำพร้า (Epidermis) และ (Dermis) ทำหน้าที่ป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้ได้รับอันตราย เป็นด่านแรกที่ป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย ขับของเสียผ่านทางต่อมเหงื่อ รวมทั้งขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงเส้นผมและไขมันไม่ให้เกินไป ที่สำคัญยังคอยช่วยรักษาอุณภูมิของร่างกายให้คงที่อีกด้วย
2.ระบบกระดูก (Skeletal system)
ร่างกายของเราประกอบไปด้วยกระดูกและกระดูกอ่อน มีความแข็งแรง เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ เอ็น และเยื่ออ่อนอื่นๆ ทำให้ร่างหายเคลื่อนไหวได้ กระดูกมีการเรียงต่อกันเป็นโพรงช่วยป้องกันอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ไขสันหลัง หัวใจ และปอดทำให้ร่างกายคงรูปอยู่ได้ และรองรับอวัยวะต่างๆ ให้ตั้งอยู่ในตำเหน่งที่เหมาะสม เป็นที่เก็บแร่ธาตุแคลเซียมในร่างกาย  อีกทั้งภายในกระดูกยังมีไขกระดูก (Bone marrow) ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood cell) ด้วยเช่นกัน
3.ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular system)
กล้ามเนื้อทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายหรืออวัยวะต่างๆ ปกติแล้วจะมีการทำงานโดยการหดและคลายตัว มีคุณสมบัติในการตอบสนองหรือมีความไวต่อตัวกระตุ้นต่างๆ ได้ไม่เท่ากัน สามารถเป็นตัวนำไฟฟ้าได้
4.ระบบย่อยอาหาร (Digestive system)
การย่อยอาหารมีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นเหล่งอาหารที่นำไปเผาผลาญเพื่อก่อให้เกิดพลังงานกับร่างกาย โดยเปลี่ยนอาหารจากโมเลกุลใหญ่ ละลายน้ำไม่ได้ ให้เป็นอาหารที่โมเลกุลเล็กลงจนสามารถละลายน้ำ  แล้วดูดซึมเข้ากระแสเลือดเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ อวัยวะที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
5.ระบบขับถ่ายปัสสาวะ (Urinary system)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การกำจัดของเสียทางไต โดยไตจะกรองของเสียออกจากเลือดขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะไหลไปตามท่อไตเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อรอการขับออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะนั่นเอง
6.ระบบหายใจ (Respiratory system)
ระบบนี้มีหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าชให้กับสิ่งมีชีวิต ประกอบไปด้วย จมูก หลอดลม ปอด และกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกแลกเปลี่ยนที่ปอดด้วยกระบวนการแพร่ ร่างกายต้องการออกซิเจนเพื่อการย่อยสลายสารอาหาร การเจริญเติบโต และกระบวนการเมตาบอลิซึม ซึมเป็นกระบวนการสร้างและสลายพลังงาน ถ้าร่างกายขาดออกซิเจน เซลล์จะไม่สามารถทำงานได้และตายในที่สุด ผลที่ได้จากกระบวนการเมตาบอลิซึมของเซลล์คือ คาร์บอนไดออกไซด์ จะถูกขับออกจากร่างกายโดยการหายใจออก
7.ระบบไหลเวียนโลหิต (Vascular system)
ทำหน้าที่เป็นระบบขนส่งภายในร่างกาย โดยการส่งสารอาหาร น้ำ ออกซิเจน เกลือแร่ ฮอร์โมน และสิ่งมีประโยชน์อื่นๆ ไปให้เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย แล้วนำของเสียออกจากเซลล์ไปยังส่วนที่มีหน้าที่ขับออกจากร่างกาย ระบบนี้ประกอบไปด้วยเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ เส้นเลือดฝอย โดยมีหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
8.ระบบประสาท (Nervous system)
ระบบประสาทเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำหน้าที่ออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เอาข้อมูลที่ได้รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ เพื่อมาประมวลผล และสร้างคำสั่งให้อวัยวะต่างๆ ทำงานประกอบไปด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท
9.ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
เป็นอวัยวะในร่างกายของมนุษย์ที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์ การสืบพันธุ์ของมนุษย์เป็นแบบปฏิสนธิภายในโดยการร่วมเพศ
10.ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
ต่อมไร้ท่อจะสร้างและหลั่งฮอร์โมน (Hormones) ส่งออกนอกเซลล์ผ่านกระแสเลือดหรือน้ำเหลืองเพื่อไปยังอวัยวะเป้าหมาย เช่น ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
จะเห็นได้ว่าระบบต่างๆนร่างกายมีความซับซ้อน แม้จะแบ่งแยกหน้าที่ตามการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ แต่ทุกส่วนก็ทำงานเชื่อมโยงกัน การที่เราจะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีได้นั้นก็ต้องอาศัยร่างกายที่มีความสมบรูณ์ของระบบต่างๆ ให้มากที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก
logoหนังสือสุขภาพดีตั้งแต่ตื่นยันนอน
Share this article :

แสดงความคิดเห็น

Translate

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. tonfolk-trick - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger